ระบบสารสนเทศในองค์กร
องค์กร หมายถึง
บุคคลกลุ่มหนึ่งที่มารวมตัวกัน
โดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน
และดำเนินกิจกรรมบางอย่างร่วมกันอย่างมีขั้นตอนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
นั้น โดยมีทั้ง องค์กรที่แสวงหาผลกำไร
คือองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เช่น บริษัท
ห้างหุ้นส่วน ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าต่างๆ และ องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
คือองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นหลัก เช่น สมาคม สถาบัน
มูลนิธิ เป็นต้น
บทบาทขององค์กรที่มีต่อระบบสารสนเทศ
องค์กรมีผลต่อระบบสารสนเทศในหลายด้านพอสรุปได้ดังนี้คือ
1.การตัดสินใจเรื่องบทบาทของระบบสารสนเทศและการนำระบบสารสนเทศมาใช้
กล่าวคือ
องค์กรจะต้องทำการพิจารณาว่าจะนำระบบสารสนเทศมาใช้ให้เกิดความได้เปรียบทาง
การแข่งขัน หรือจะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้แทนพนักงานเท่านั้น
หรือที่เรียกว่า Automation
หากองค์กรให้ความสำคัญต่อระบบสารสนเทศในการเป็นทรัพยากรที่ใช้ในการแข่งขัน
องค์กรอาจจะต้องมีการจัดเตรียมงบประมาณในการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้
มากขึ้น เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานของระบบให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
2.การตัดสินใจว่าจะพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างไร ได้แก่
การตัดสินใจที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยหน่วยงานภายใน
หรือจะจ้างหน่วยงานภายนอกมาทำการพัฒนาที่เรียกว่า Outsourcing
หากองค์กรจะทำการพัฒนาด้วยตัวเอง
องค์กรจะต้องมีหน่วยงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศภายในที่มีความรู้
ความสามารถเพียงพอในการจะดำเนินการดังกล่าวได้
3. การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยงานสารสนเทศ ได้แก่
การตัดสินใจที่จะมีหน่วยงานสารสนเทศภายในแบบใด เช่น
เป็นเพียงหน่วยงานสนับสนุนการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศเท่านั้น
หรือจะเป็นหน่วยงานสารสนเทศหลักในการพัฒนาระบบด้วยตัวเอง
4.
การตัดสินใจว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องคำนึงถึงในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
เช่น
จะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานหรือไม่เพื่อรองรับการนำระบบสารสนเทศ
หรือเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ใน
องค์กร และปรับปรุงอย่างไร เป็นต้น
การนำระบบสนเทศมาใช้ในองค์กร ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรมากมาย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ทำให้ผู้บริหารมีสารสนเทศ(Information)มาช่วยในการตัดสินใจ การวิเคราะห์ การจัดการ และการควบคุมที่ดีขึ้น
2.ทำให้ผู้บริหารสามารถจัดการการงานที่มีประสิทธิภาพขึ้น ด้วยการเสริมทางด้านการติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็ว
3.ทรัพยากรสารสนเทศมีความสำคัญมากขึ้น
และถือเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรเช่นเดียวกับทรัพยากรด้านอื่นๆ
ดังนั้นการจัดสรรงบประมาณการจัดซื้อหรือหรือหามาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศถือ
เป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ของ
องค์กร
4.ผู้บริหารทุกคนถือว่ามีส่วนสำคัญในการจัดการ และการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรสารสนเทศ
5. ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง วัฒนธรรม
และอิทธิพลทางการเมืองในองค์กรหน่วยงานสารสนเทศหรือหน่วยงานทีมีส่วนในการ
เก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลจะมีความสำคัญมากขึ้นในองค์กร
ระบบสารสนเทศที่นำไปใช้ในองค์กร ในปัจจุบันนั้นที่สำคัญมี 3 อย่าง คือ
1.นำไปใช้ในการประมวลผลรายการ และการจัดทำรายงาน
2.นำไปใช้ในการช่วยการตัดสินใจ
3.นำไปใช้ในการช่วยการติดต่อสื่อสาร
รูปแสดง ระดับภายในองค์กร
กลยุทธ์ระดับองค์กร (Firm-Level Strategy)
ได้แก่ การตัดสินใจทำให้หน่วยงานภายในองค์กรมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
โดยการนำระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ดังกล่าว
ซึ่งสามารถพิจารณาได้ 2 เรื่องคือ
1. การนำระบบสารสนเทศไปใช้ส่งเสริมธุรกิจที่เป็นธุรกิจหลัก
ธุรกิจหลัก (Core Competencies) คือ
ธุรกิจที่องค์กรมีความชำนาญมากที่สุด เช่น
บริษัทเจริญโภคภัณฑ์มีการทำธุรกิจมากมาย
แต่ธุรกิจที่ถือว่าเป็นธุรกิจหลักของกิจการก็คือ
การผลิตด้านสัตว์และอาหารสัตว์ หรือ กรณีบริษัท Federal Express
ที่มีความชำนาญในการทำธุรกิจการจัดส่งพัสดุมากที่สุด เป็นต้น
การนำระบบสารสนเทศมาใช้ส่งเสริมธุรกิจหลัก ได้แก่
การรวมศูนย์ข้อมูลเพื่อการใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่ทำเกี่ยวกับ
ธุรกิจหลัก
หรือการลงทุนในเทคโนโลยีหรือระบบที่จะทำให้การทำธุรกิจหลักมีประสิทธิภาพมาก
ขึ้น
2.การนำเทคโนโลยีหรือระบบสารสนเทศหรือระบบสารสนเทศไปใช้ในการเชื่อมโยงหน่วยงานต่างๆภาย
ในองค์กร ได้แก่
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการติดต่อสื่อสารหรืประสานงานระหว่างหน่วยงาน
เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือ กรุ๊ปแวร์
(Groupware) เป็นต้น เพื่อให้การติดต่องานที่สะดวกและรวดเร็วขึ้น
และเป็นการเชื่อมโยงหน่วยงานที่อยู่ห่างไกลกันให้มีการประสานงานที่ดีขึ้น
ตัวอย่าง ของการนำสารสนเทศมาใช้ในองค์กร
UPS แข่งขันไปทั่วโลกด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
บริษัท United Parcel Service หรือ UPS
ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่อันดับหนึ่งของโลกในด้านการจัดส่งพัสดุทางบก
ทำการก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2450
และยังคงเป็นบริษัทอันดับหนึ่งในปัจจุบันจากการที่ไม่เคยหยุดอยู่กับการ
พัฒนาบริการให้ดีขึ้น
UPS ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า Hand-held Computer
การบันทึกข้อมูลลายเซ็นลูกค้าเวลาที่รับ หีบห่อและเวลาที่ส่ง หีบห่อ
จากนั้นส่งผ่านข้อมูลโดยผ่าน ระบบเครือข่ายของโทรศัพท์ไร้สาย หรือ Cellular
Telephone Network ภายในรถไปยังคอมพิวเตอร์หลักของบริษัทที่
ตั้งอยู่ทั่วโลกทำให้สามารถทราบได้ว่าพัสดุอยู่ที่ไหน
ซึ่งระบบนี้จะใช้ บาร์โค้ด ( Bar Code )
เป็นตัวบันทึกข้อมูลหีบห่อที่รับและส่งเพื่อส่งผ่านข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์
ส่วนกลาง
ทำให้ฝ่ายขายสามารถตอบคำถามลูกค้าเกี่ยวกับพัสดุได้รวมทั้งลูกค้าของ UPS
สามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้ได้เองทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือ
( WWW ) หรือการใช้ซอฟต์แวร์พิเศษของ UPS รวมทั้งลูกค้าสามารถเข้าไปใน
WWW ตรวจสอบเส้นทางการขนส่ง คำนวณอัตราค่าส่งหีบห่อ
และจัดตารางการรับ/ส่งหีบห่อได้และในอนาคตก็จะสามารถจ่ายค่าส่งทางอินเตอร์
เน็ตได้
นอกจากนี้ตั้งแต่ปี 2534 UPS
ยังเสนอบริการใหม่ด้วยการส่งสินค้าภายใน 24 ชั่วโมง
และบริษัทยังสามารถปรับเปลี่ยนเส้นทางหรือหยุดการส่งในระหว่างทางได้หาก
ลูกค้าต้องการ
ความจำเป็นและประโยชน์ต่อการจัดองค์กร
ประโยชน์ต่อองค์กร
- องค์กรเจริญก้าวหน้า
- ทำให้งานไม่ซ้ำซ้อน
- ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้
ประโยชน์ต่อผู้บริการ
- การบริหารงานง่าย
- แก้ปัญหางานไม่ซ้ำซ้อน
- งานไม่คั่งค้าง
แผนภูมิองค์การ (Organization Charts)
..... แผนภูมิองค์การ คือ รูปไดอะแกรมที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะต่าง ๆ
ที่สำคัญขององค์การรวมทั้งหน้าที่และความสัมพันธ์ของฝ่ายต่าง ๆ
หรือกล่าวได้ว่าเป็นการแสดงให้เห็นตำแหน่งต่าง ๆ
ในองค์การธุรกิจและความสัมพันธ์ของฝ่ายต่าง ๆ
ที่ต้องเกี่ยวข้องผูกพันกันทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้าและผู้อยู่
ใต้บังคับบัญชา
..... แผนภูมิองค์การทำให้บุคคลในองค์การรู้ว่าตนอยู่ ณ ตำแหน่งใด ทำหน้าที่อะไร ใครรับผิดชอบตน เป็นต้น
.....
ลักษณะของแผนภูมิองค์การ
1. เสนอในรูปไดอะเกรม
2. แสดงให้เห็นสายงานบังคับบัญชาในองค์การ
3. แสดงให้เห็นงานของฝ่ายต่าง ๆ และความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
4. บ่งชี้เส้นทางการติดต่อสื่อสาร
.....
..... แผนภูมิองค์การควรมีความชัดเจนไม่ก่อให้เกิดความสับสน
เพราะเป็นการแสดงความสัมพันธ์ของฝ่ายต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างเป็นทางการ
บางครั้งแผนภูมิองค์การอาจจำแนกออกเป็นแผนภูมิด้านบุคลากร (personnel
organization ' chart) และแผนภูมิองค์การด้านหน้าที่ (functional
organization chart)
..... แผนภูมิองค์การด้านบุคลากรจะแสดงให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งต่าง ๆ
แผนภูมิองค์การด้านหน้าที่จะแสดงให้เห็นถึงหน้าที่หรือกิจกรรมต่าง ๆ ในองค์
นอกจากนี้แผนภูมิองค์การยังแบ่งออกแผนภูมิหลักและแผนภูมิเสริม
.แผนภูมิหลัก (Master chart) แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างของธุรกิจทั้งหมด
โดยแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งทั้งหมด และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ
ที่แสดงไว้ในองค์การเป็นการให้ภาพที่ชัดเจนของโครงสร้างองค์การอย่างเป็นทาง
การ
..... แผนภูมิเสริม (Supplementary Chart) เป็นแผนภูมิของแผนกต่าง ๆ
ที่บรรยายให้เห็นถึงตำแหน่งและความสัมพันธ์ภายในแผนก
ทั้งนี้เพราะธุรกิจขนาดใหญ่จะมีความยุ่งยากในการแสดงรายละเอียดต่าง ๆ
ในแผนภูมิหลัก แผนภูมิเสริมนี้จะช่วยให้เห็นข่ายงานที่ชัดเจน
.....
ประโยชน์ของแผนภูมิองค์การ
1. เป็นเครื่องมือทางการบริหาร เพื่อชี้ให้พนักงานเห็นถึงการทำงานภายในองค์การทั้งหมดและบุคคลที่พนักงานเหล่านั้นต้องเกี่ยวข้องด้วย
2. เป็นการแสดงให้เห็นถึงสายการบังคับบัญชาและความรับผิดชอบ ทำให้รู้ว่าตนมีหน้าที่ด้านไหน ใครควบคุม ใครที่ต้องรายงานด้วย เป็นต้น
3. เป็นแนวทางให้แก่บุคลากรใหม่เพื่อเข้าใจองค์การและเป็นแนวทางในการฝึกบุคลากรสู่ตำแหน่งต่าง ๆ
4. เป็นการกำหนดข่ายงานการจำแนกบุคลากรและระบบการประเมินผล
5. เป็นการแสดงให้เห็นส่วนสำคัญที่ควรมีการปรับปรุงในองค์การ
เพราะขณะที่ลงมือปฏิบัติงานจะมองเห็นความไม่สอดคล้องและความบกพร่องอื่นๆ
เพื่อนำมาเป็นแนวทางปรับปรุง
..... อย่างไรก็ตามแผนภูมิองค์การยังมีข้อจำกัดอื่นๆ เช่น
แสดงเฉพาะความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ
ส่วนความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการไม่ได้กำหนดไว้ซึ่งความสัมพันธ์อย่างไม่
เป็นทางการมีผลต่อการดำเนินงาน
ในองค์การเป็นอย่างมาก เป็นต้น
.....
ประเภทของแผนภูมิองค์การ (Types of Organization Charts)
..... แผนภูมิองค์การแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. แผนภูมิองค์การแนวดิ่ง (Vertical organization Chart)
องค์การส่วนมากจะใช้แผนภูมิประเภทนี้เสนอให้เห็นถึงระดับต่าง ๆ
ขององค์การมีลักษณะเป็นรูปพีระมิด ผู้บริหารระดับสูงอยู่ส่วนบนสุด
และเลื่อนลงมาข้างล่างตามลำดับ
ดังนั้นสายการบังคับบัญชาจะดำเนินจากบนลงล่าง (top to buttom)
รูปแผนภูมิองค์การแนวดิ่ง
2. แผนภูมิองค์การแนวระดับหรือแนวนอน (Horizontal
organization chart) เป็นแผนภูมิที่อ่านจากซ้ายไปขวา
ด้านซ้ายจะเป็นผู้บริหารระดับสูง ลดหลั่นเรื่อยไปจนถึงคนงานที่ขวาสุด
ดังรูป
รูปแผนภูมิองค์การแนวระดับ
3. แผมภูมิองค์การแบบแยกธุรกิจและ องค์การแบบอิสระ (Matrix Organization) ผู้นำเรียกว่า Matrix boss แนวโน้มโครงสร้างองค์การสมัยใหม่องค์การสมัยใหม่จะเน้นให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมมากขึ้น
3.1 สายการบังคับบัญชาสั้นลงหรือน้อยลง ยิ่งสั้นลงก็ทำให้งานเร็วขึ้น
3.2 ขนาดการควบคุมกว้างขึ้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและการสั่งงานเร็วขึ้นผู้ใต้บังคับบัญชามีอิสระมากขึ้น
3.3 ความเป็นเอกภาพของการบังคับบัญชาน้อยลง
โครงสร้างองค์การในปัจจุบันมีแน้วโน้มในการใช้การทำงานเป็นทีมข้ามหน้าที่
การใช้หน่วยเฉพาะกิจ และการจัดโครงสร้างองค์การแบบแมททริกซ์
3.4 การมอบหมายงานและการให้คนมีอำนาจและความรับผิดชอบมากขึ้น
3.5 โครงสร้างขนาดเล็กอยู่ในขนาดใหญ่ ทำให้ยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ง่ายกว่า
3.6 ลดจำนวนที่ปรึกษาให้อยู่ในระดับที่เป็นประโยชน์ต่องานของฝ่ายบริหาร
ที่มา: http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5128090/dex16.html